10,000 - 4,000 ปีก่อน: ยุคหินใหม่ ของ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย

ยุคหินใหม่ เป็นช่วงเวลาซึ่งแต่เดิมถือเป็นส่วนสุดท้ายของยุคหิน มันเริ่มต้นด้วยการแพร่กระจายของการเพาะปลูกซึ่งทำให้เกิดการปฏิวัติยุคหินใหม่ และจบลงเมื่อเครื่องมือโลหะแพร่หลายในยุคสำริดหรือไม่ก็พัฒนาข้ามไปสู่ยุคเหล็กโดยตรง ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้นักโบราณคดียังพบการเปลี่ยนแปลงของอาหารการกินซึ่งตามมาด้วยการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล [5]

การขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าการปลูกข้าวเข้าสู่ตอนกลางของประเทศไทยโดยการย้ายถิ่นฐานของสังคมเกษตรกรรมที่ปลูกข้าวเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน [6]

วัฒนธรรมยุคหินใหม่ปรากฏในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเช่น แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี เมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสตศักราช พวกเขาเริ่มจากการหาของป่า ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การทำเกษตรกรรม หลักฐานจากตอนใต้ของประเทศไทยแสดงให้เห็นว่ามีการทำนาข้าวตั้งแต่ 2500 - 2200 ปีก่อน [7] อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้หารือกันเมื่อเร็วๆ นี้ถึงความเป็นไปได้ของการทำนาข้าวในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย [8]

เกษตรกรรมในยุคหินใหม่ในยุคแรกถูกจำกัดอยู่เพียงพืชผลและสัตว์ไม่กี่ชนิดทั้งในพืชป่าและพืชบ้าน ซึ่งรวมถึงพลู ถั่ว พริกไทย แตงกวา [9] ตลอดจนการเลี้ยงวัวและหมู มีการใช้เครื่องปั้นดินเผา การตั้งถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยทั้งถาวรและชั่วคราวเริ่มต้นขึ้น

การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นแยกกันในหลายส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่วัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่มีความโดดเด่นในระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดขึ้นโดยอิสระต่อแหล่งวัฒนธรรมอื่นๆ ในโลก[ต้องการอ้างอิง]

การตั้งถิ่นฐานยุคหินใหม่ในประเทศไทย

ถาพถ่ายบริเวณแม่น้ำแควน้อย .
  • ถ้ำผีแมน

ถ้ำผีแมนเป็นแหล่งโบราณคดีใน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่อยู่อาศัยของนักหาของป่าล่าสัตว์ชาวหัวบิเนียน (Hoabinhian) จาก เวียดนามเหนือ ในช่วง 9000 - 5500 ปีก่อนคริสตศักราช พื้นที่นี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 650 เมตร บนเนินเขามองเห็นแม่น้ำสาละวิน

  • ถ้ำแล่งกำนัน

ถ้ำแล่งกำนันเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่บนที่สูงหินปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 110 เมตร และอยู่ห่างจากแม่น้ำแควน้อย 4 กิโลเมตร จากการวิเคราะห์ซากสัตว์ในถ้ำ เชื่อกันว่าถ้ำแห่งนี้เป็นหนึ่งในที่พักชั่วคราวหลายแห่งของนักหาของป่าล่าสัตว์ที่แวะเวียนมาตามฤดูกาล มันใช้ตั้งแต่ปลายสมัยไพลสโตซีนจนถึงยุคโฮโลซีนตอนต้น [10]

  • วังโพธิ์

วังโพธิเป็นแหล่งโบราณคดีใน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 4,500 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช มีการค้นพบเครื่องมือหินจำนวนมากในถ้ำและตามแม่น้ำในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2

  • บ้านเชียง
บ้านเชียง. ยุคก่อนประวัติศาสตร์

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีใน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การระบุอายุของโบราณวัตถุโดยใช้เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ พบว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อราว 4,420-3,400 ปีก่อนคริสตศักราช หลุมศพที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบไม่ปรากฏการมีอยู่ของทองสัมฤทธิ์ จึงสรุปได้ว่าถูกสร้างขึ้นในยุคหินใหม่ ส่วนหลุมศพที่พึ่งค้นพบนั้นถูกสร้างขึ้นในยุคเหล็ก [11]

  • โคกพนมดี

โคกพนมดีตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไทยใกล้กับที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำบางปะกงในจังหวัดชลบุรี พื้นที่นี้ถูกใช้อยู่อาศัยตั้งแต่ 2000 - 1500 ปีก่อนคริสตศักราช การขุดค้นพบว่ามีการฝังศพเกิดขึ้น 7 ระยะ รวมหลุมศพ 154 หลุม ซึ่งพบซากทางโบราณคดีมากมาย เช่น ปลา ปู เตาไฟ หลุมศพ และศพของผู้ใหญ่กับทารก [12]

จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการเก็บศพและไอโซโทปของสตรอนเซียม คาร์บอน และออกซิเจนที่พบในซากฟัน นักโบราณคดีได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ของการควบรวมระหว่างวัฒนธรรมเกษตรกรรมที่ดอนกับวิถีชีวิตนักหาของป่าล่าสัตว์ของโคกพนมดี [13] การศึกษาไอโซโทปแสดงให้เห็นว่าในระยะก่อนหน้านี้ ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอพยพมาจากทั้งพื้นที่ทางบกและชายฝั่ง ในขณะที่ผู้ชายถูกเลี้ยงและเติบโตขึ้นในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่แรก การปรับตัวเข้าท้องถิ่นของผู้อพยพเกิดขึ้นในช่วงระยะที่ 4 เป็นต้นไป โดยมีการปลูกข้าวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน [13] :301-314

  • เขารักเกียรติ

เขารักเกียรติ อยู่ในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ภาคใต้ของประเทศไทย ถ้ำแห่งนี้ถูกขุดขึ้นมาโดยกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2529 และเผยให้เห็นเซรามิกยุคหินใหม่ เครื่องมือหิน และซากโครงกระดูกมนุษย์ [8]

ใกล้เคียง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมาเลเซีย ยุคก่อนโรมาเนสก์ ยุคกลางตอนต้น ยุคกลาง ยุคกรีกโบราณ ยุคกลางตอนปลาย ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการอพยพ